องค์พรหมทั่ง 3 พิมพ์ ที่คุณพ่อของอาจารย์วันชัยได้จัดสร้างไว้ เริ่มสร้างปี 2519-2523

ประวัติ📜
สมัยนั้นคนที่เป็นลูกศิษย์ “อาจารย์เฮง ไพลวัลย์” ผู้สร้างเหรียญพรหมที่หายาก แพง มีน้อยมาก และก็เป็นเหรียญพรหมที่โด่งดังที่สุดในประเทศ ซึ่งในปัจจุบันหาชมได้ยาก…คนที่เป็นศิษย์เมื่อเริ่มมีครอบครัว และ แตกหน่อลูกหลาน วัตถุมงคลของ อาจารย์เฮง ก็ไม่มีเพราะท่านสร้างน้อย เหตุเพราะค่าครูแพง คนสมัยก่อนที่เล่นของรู้ทุกคนเพราะสมัยก่อนสร้างเป็นรายบุคคลไป ไม่ได้ทำออกมาเป็นร้อย ๆ ซึ่งในการทำวัตถุมงคลแต่ละครั้งจะต้องมี หัวหมู บายศรี ของไหว้ เล็กใหญ่ มากน้อยตามแต่ครูอาจารย์ของแต่ละองค์

ในหมู่ลูกศิษย์ส่วนใหญ่ก็เรียนวิชาทุกคน ได้มากบ้างน้อยบ้าง ก็อยู่ที่พรสรรค์ของแต่ละคน “ร้อยโทอนันต์ ตันติสิรินันท์” ผู้เป็นบิดาของ “อาจารย์วันชัย ตันติสิรินันท์” ได้เห็นแววของ อาจารย์วันชัย ตั้งแต่เล็กๆว่าชื่นชอบและสนใจไหว้พระสวดมนต์ทางนี้ จึงนำบุตรชายไปฝากตัวเป็นศิษย์ “หลวงปู่สีห์ วัดสะแก จ.อยุธยา” ซึ่งเป็นศิษย์ผู้น้องของ “อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ (อาจารย์เฮง ท่านเป็นศิษย์หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ)” เพื่อเล่าเรียนวิชาความรู้ ในการสร้าง “พรหม” ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ มีบุญญาฤทธิ์ และ อิทธิฤทธิ์

หลวงปู่สีห์ วัดสะแก เป็นองค์เดียวเท่านั้นที่ได้ร่วมสร้างและเสก รวมถึงลงเลขยันต์คาถาใน “เหรียญพรหม อจ. เฮงไพรวัลย์” อีกทั้งยังได้ตำราวิชาคาถาของ “หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ และ ตำราขอวัดประดู่ในทรงธรรม” สืบทอดต่อมาจาก “อจ. เฮง ไพรวัลย์” อีกด้วยครับ

พอ “อาจารย์วันชัย” อายุได้ประมาณ 21 ปึ ได้เล่าเรียนคาถาและการลง “นะ” ต่างๆได้แม่นยำ รวมทั้งบท “รัตนมาลา” ซึ่งเป็นบทหัวใจ ของครูบาอาจารย์ทั้งหลายในสมัยก่อนที่จะต้องท่องได้ ซึ่งตามโบราณท่านกล่าวไว้ว่า “ผู้ใดจะศึกษาพระเวท ต้องบูชาพระพรหม เพราะท่านเป็นผู้ถือหรือครอบครองพระคัมภีร์ “รัตนมาลา” เพราะท่านคือบรมครู ของครู

ถ้าใครไม่ได้พระคาถา “รัตนมาลา” แล้วมาสร้าง “พระสหบดีพรหม” เมื่อสร้างออกมาก็ได้เพียงรูปท่าน แต่ไม่ใช่องค์ท่าน “พระพรหม” จึงไม่ค่อยมีผู้ใดสร้างได้สำเร็จ พอสิ้นท่าน “อาจารย์เฮง ไพรวัลย์” ลูกศิษย์ส่วนใหญ่ที่มี “เหรียญหรือตะกรุด” ใช้บูชาอยู่ พอมาถึงรุ่นลูกก็เริ่มสึก แตกหัก เสีย หาย ขณะนั้นอายุ “หลวงปู่สีห์” ก็เริ่มมากขึ้น บิดาอาจารย์วันชัย กับเพื่อน จึงได้ขออนุญาติ “หลวงปู่สีห์ วัดสะแก” สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์เชิดชูครูบาอาจารย์ว่าวัตถุมงคลชิ้นนี้เป็นของหลวงปู่สีห์ ซึ่งหลวงปู่สีห์ ท่านได้เห็นดีด้วย

พระพรหม ได้นามว่า ธาดา แปลว่า ผู้สร้าง และ วิธาดา แปลว่า ผู้เลี้ยง ในคัมภีร์ กล่าวว่า พระพรหม มักสถิตอยู่เหนือ ดอกบัง ทรงพระนามว่า กมลาสน์ แปลว่า ผู้ถือดอกบัวเป็นอาสนะ

พระพรหม ถือว่าเป็น ผู้ทรงสร้างโลก มักปรากฏเครื่องทรงใหญ่ ประกอบด้วย สร้อยสังวาลย์ ทับทรง พาหุรัด ทรงกุลฑล มี 4 พักตร์ 8 กร ทรงถือศัตราวุธเทพ และสิ่งมงคล ประกอบด้วย คฑา ตรี จักร์ สังข์ พระขรรค์ คันศร ลูกศร พิณ 3 สาย ลูกประคำ พระคัมภีร์ คณโฑหม้อน้ำมนต์ จึงถือว่า พระพรหมเป็นบรมครูในสรรพสศาสตร์วิชาการต่าง ๆ เรียกกันว่า ศิลปะศาสตร์ 18 แขนงวิชา อีกฐานะหนึ่งด้วย

เหรียญท้าวมหาพรหม หลวงปู่สีห์ พินฺทาสุวณฺโณ จัดสร้างตามแบบอย่างของ อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ ฆราวาสคณาจารย์ผู้เรืองพระเวทเดช พระคาถาอาคมแบบมหาพรหม หรือ เหรียญพระพรหม

เหรียญท้าวมหาพรหม หรือ เหรียญพระพรหม จัดสร้างในวาระที่ หลวงปู่สีห์ ฉลองสิริอายุมงคลวัฒนะครบ 82 พรรษา ในปี พ.ศ.2520 (บางตำรากว่าเป็นปี 2519) ในครั้งนั้นจัดสร้างแบบโบราณ

บทความอื่นๆ